JavaScript คืออะไร

JavaScript เป็นภาษาโปรแกรมที่นักพัฒนาใช้ในการสร้างหน้าเว็บแบบอินเทอร์แอคทีฟ ตั้งแต่การรีเฟรชฟีดสื่อโซเชียลไปจนถึงการแสดงภาพเคลื่อนไหวและแผนที่แบบอินเทอร์แอคทีฟ ฟังก์ชันของ JavaScript สามารถปรับปรุงประสบการณ์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการใช้งานเว็บไซต์ และในฐานะที่เป็นภาษาในการเขียนสคริปต์ฝั่งไคลเอ็นต์ จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักของ World Wide Web ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณท่องเว็บแล้วเห็นภาพสไลด์ เมนูดร็อปดาวน์แบบคลิกให้แสดงผล หรือสีองค์ประกอบที่เปลี่ยนแบบไดนามิกบนหน้าเว็บ นั่นคือคุณเห็นเอฟเฟกต์ของ JavaScript

JavaScript นำไปใช้ทำอะไร

แต่ก่อนเว็บเพจเป็นแบบคงที่คล้ายกับหน้าหนังสือ โดยหลักแล้วหน้าเพจคงที่แสดงข้อมูลในเค้าโครงที่ตายตัว และไม่ได้ทำทุกอย่างที่ตอนนี้เราคาดหวังจากเว็บไซต์สมัยใหม่ JavaScript เกิดขึ้นในฐานะเทคโนโลยีฝั่งเบราว์เซอร์เพื่อทำให้เว็บแอปพลิเคชันมีความเป็นไดนามิกมากขึ้น เมื่อใช้ JavaScript เบราว์เซอร์จะสามารถตอบสนองต่อการโต้ตอบของผู้ใช้และเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเนื้อหาบนเว็บเพจได้

เมื่อภาษาผ่านการพัฒนาอย่างเต็มที่ นักพัฒนา JavaScript ก็สร้างไลบรารี เฟรมเวิร์ก และแนวทางปฏิบัติในการเขียนโปรแกรม แล้วเริ่มนำ JavaScript ไปใช้นอกเว็บเบราว์เซอร์ วันนี้ คุณสามารถใช้ JavaScript สำหรับทั่งการพัฒนาฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เราให้ตัวอย่างกรณีการใช้พบที่พบบ่อยบางส่วนในหัวข้อย่อยต่อไปนี้:

แต่ก่อนเว็บเพจเป็นแบบคงที่คล้ายกับหน้าหนังสือ โดยหลักแล้วหน้าเพจคงที่แสดงข้อมูลในเค้าโครงที่ตายตัว และไม่ได้ทำทุกอย่างที่ตอนนี้เราคาดหวังจากเว็บไซต์สมัยใหม่ JavaScript เกิดขึ้นในฐานะเทคโนโลยีฝั่งเบราว์เซอร์เพื่อทำให้เว็บแอปพลิเคชันมีความเป็นไดนามิกมากขึ้น เมื่อใช้ JavaScript เบราว์เซอร์จะสามารถตอบสนองต่อการโต้ตอบของผู้ใช้และเปลี่ยนแปลงเค้าโครงเนื้อหาบนเว็บเพจได้

เมื่อภาษาผ่านการพัฒนาอย่างเต็มที่ นักพัฒนา JavaScript ก็สร้างไลบรารี เฟรมเวิร์ก และแนวทางปฏิบัติในการเขียนโปรแกรม แล้วเริ่มนำ JavaScript ไปใช้นอกเว็บเบราว์เซอร์ วันนี้ คุณสามารถใช้ JavaScript สำหรับทั่งการพัฒนาฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เราให้ตัวอย่างกรณีการใช้พบที่พบบ่อยบางส่วนในหัวข้อย่อยต่อไปนี้:

 

JavaScript ทำงานอย่างไร

ภาษาโปรแกรมทั้งหมดทำงานด้วยการแปลไวยากรณ์ที่คล้ายภาษาอังกฤษเป็นโค้ดสำหรับเครื่อง จากนั้นระบบปฏิบัติการจะเรียกใช้โค้ดนั้น JavaScript ได้รับการจัดประเภทอย่างกว้าง ๆ ว่าเป็นภาษาเขียนสคริปต์ หรือภาษาที่แปลผลแล้ว โค้ด JavaScript ได้รับการแปลผล—นั่นคือ แปลโดยตรงเป็นโค้ดภาษาสำหรับเครื่อง ด้วยกลไกล JavaScript ในขณะที่ในภาษาโปรแกรมอื่น ๆ คอมไพเลอร์จะคอมไพล์โค้ดทั้งหมดเป็นโค้ดสำหรับเครื่องในขั้นตอนที่แยกต่างหาก ดังนั้น ภาษาเขียนสคริปต์ทั้งหมดจึงเป็นภาษาโปรแกรม แต่ไม่ใช่ว่าภาษาโปรแกรมทั้งหมดจะเป็นภาษาเขียนสคริปต์เสมอไป

กลไก JavaScript

กลไก JavaScript คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกใช้โค้ด JavaScript กลไก JavaScript เคยเป็นเพียงตัวแปลผล แต่กลไกสมัยใหม่ทั้งหมดใช้การคอมไพล์แบบ Just-in-time หรือรันไทม์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์

JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์หมายถึงวิธีที่ JavaScript ทำงานในเบราว์เซอร์ของคุณ ในกรณี กลไก JavaScript จะอยู่ภายในโค้ดเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์เจ้าใหญ่ ๆ ทั้งหมดจะมาพร้อมกับกลไก JavaScript ในตัว

นักพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บจะเขียนโค้ด JavaScript ที่มีฟังก์ชันที่แตกต่างกันสัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การคลิกเมาส์ หรือการเลื่อนเมาส์ผ่าน ฟังก์ชันเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลง HTML และ CSS

ต่อไปนี้เป็นภาพรวมว่า JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์ทำงานอย่างไร:

1   เบราว์เซอร์โหลดเว็บเพจเมื่อคุณเยี่ยมชมเว็บเพจ

2   ระหว่างการโหลด เบราว์เซอร์แปลงหน้าและองค์ประกอบทั้งหมดของหน้า เช่น ปุ่ม ป้าย และกล่องดรอปดาวน์ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่าโมเดลอ็อบเจกต์เอกสาร (DOM)

3   กลไก JavaScript ของเบราว์เซอร์แปลงโค้ด JavaScript เป็นไบต์โค้ด โค้ดนี้เป็นตัวกลางระหว่างไวยากรณ์ JavaScript และเครื่อง

4   เหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การคลิกเมาส์บนปุ่ม จะกระตุ้นให้บล็อกโค้ด JavaScript ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ จากนั้นกลไกจะแปลผลไบต์โค้ด และทำการเปลี่ยนแปลง DOM

5   เบราว์เซอร์แสดงผล DOM ใหม่

JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์

JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์หมายถึงการใช้ภาษาเขียนโค้ดในลอจิกของเซิร์ฟเวอร์แบ็คเอนด์ ในกรณีนี้ กลไก JavaScript จะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์โดยตรง ฟังก์ชัน JavaScript ฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล ดำเนินการทางตรรกะแบบต่าง ๆ และตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกกระตุ้นจากระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์ ข้อได้เปรียบหลักของการเขียนสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์คือคุณสามารถปรับแต่งการตอบสนองของเว็บไซต์โดยอ้างอิงตามข้อกำหนดของคุณ สิทธิ์เข้าถึงของคุณ และคำขอข้อมูลจากระบบได้เป็นอย่างมาก

ฝั่งไคลเอ็นต์เทียบกับฝั่งเซิร์ฟเวอร์

คำว่าไดนามิกอธิบาย JavaScript ทั้งฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ พฤติกรรมไดนามิกคือความสามารถที่จะอัปเดตการแสดงของเว็บเพจเพื่อสร้างเนื้อหาใหม่ตามที่จำเป็น ความแตกต่างระหว่าง JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์และฝั่งเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่วิธีการที่ JavaScript สร้างเนื้อหาใหม่ โค้ดฝั่งเซิร์ฟเวอร์สร้างเนื้อหาใหม่แบบไดนามิกด้วยการใช้ลอจิกของแอปพลิเคชันและปรับเปลี่ยนข้อมูลจากฐานข้อมูล ส่วน JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์สร้างเนื้อหาใหม่แบบไดนามิกภายในเบราว์เซอร์โดยใช้ลอจิกอินเทอร์เฟซผู้ใช้ และปรับเปลี่ยนเนื้อหาเว็บเพจที่อยู่บนไคลเอ็นต์อยู่แล้ว ความหมายมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในสองบริบทแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกัน และทั้งสองแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของผู้ใช้

นอกเหนือจากการนำไปใช้ในคุณสมบัติไดนามิกแล้ว ความแตกต่างอีกประการหนึ่งระหว่างการใช้ JavaScript สองแบบคือทรัพยากรที่โค้ดสามารถเข้าถึงได้ ทางฝั่งไคลเอ็นต์ เบราว์เซอร์จะควบคุมสภาพแวดล้อมรันไทม์ของ JavaScript โค้ดจึงสามารถเข้าถึงได้เพียงทรัพยากรที่เบราว์เซอร์อนุญาตให้โค้ดเข้าถึงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โค้ดไม่สามารถเขียนเนื้อหาลงในฮาร์ดดิสก์ของคุณได้เว้นแต่คุณจะคลิกปุ่มดาวน์โหลด ในทางกลับกัน ฟังก์ชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถเข้าถึงทรัพยากรทั้งหมดของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้ตามที่จำเป็น

ไลบรารี JavaScript คืออะไร

ไลบรารี JavaScript คือชุดส่วนย่อยของโค้ดที่เขียนไว้ก่อนซึ่งนักพัฒนาเว็บสามารถนำมาใช้ใหม่เพื่อใช้ฟังก์ชันมาตรฐานของ JavaScript โค้ดในไลบรารี JavaScript ถูกใส่เข้าในส่วนที่เหลือของโค้ดของโปรเจกต์ โดยดำเนินการตามความจำเป็น หากคุณมองว่าโค้ดแอปพลิเคชัน JavaScript เป็นบ้าน ไลบรารี JavaScript ก็เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่นักพัฒนาสามารถนำมาใช้เพื่อปรับปรุงการทำงานของบ้าน

ต่อไปนี้เป็นการใช้งานที่พบบ่อยสำหรับไลบรารี JavaScript:

การแสดงข้อมูลเป็นภาพ

การแสดงข้อมูลเป็นภาพมีความสำคัญสำหรับผู้ใช้เพื่อดูสถิติ เป็นต้น ในแผงผู้ดูแล แดชบอร์ด และตัววัดประสิทธิภาพ

ไลบรารีต่าง ๆ เช่น Chart.js, ApexCharts และ Algolia Places มีฟังก์ชันในตัวที่คุณสามารถใช้สร้างแอปพลิเคชันเว็บที่แสดงผลข้อมูลเป็นแผนภาพและแผนที่ได้

การจัดการ DOM

คุณสามารถใช้ไลบรารี เช่น jQuery และ Umbrella JS เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บเป็นเรื่องง่าย เพราะไลบรารีเหล่านี้มีโค้ดสำหรับฟังก์ชันมาตรฐานของเว็บไซต์ เช่น แอนิเมชันเมนู แกลเลอรีภาพ ปุ่ม ไลท์บ็อกซ์ และอีกมากมาย

แบบฟอร์ม

การพัฒนาเว็บทั้งหมดใช้แบบฟอร์มสำหรับให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ติดต่อใครสักคน สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ และลงทะเบียนเข้าร่วมอีเวนต์ ไลบรารี JavaScript บางอย่าง เช่น wForms, LiveValidation, Validanguage และ qForms ทำให้ฟังก์ชันเกี่ยวกับแบบฟอร์มง่ายขึ้น ซึ่งรวมถึงการสอบทวนแบบฟอร์ม เค้าโครง เงื่อนไข และการเปลี่ยนสภาพ

ฟังก์ชันคณิตศาสตร์และข้อความ

แอปพลิเคชันเว็บมากมายต้องแก้สมการทางคณิตศาสตร์และประมวลผลข้อมูลวันที่ เวลา และข้อความ แทนที่จะส่งคำขอดังกล่าวทั้งหมดไปยังเซิร์ฟเวอร์ การจัดการคำขอเหล่านี้บางส่วนบนฝั่งไคลเอ็นต์จะมีประสิทธิภาพมากกว่า นักพัฒนาเว็บทำเช่นนี้ได้ด้วยการใช้ไลบรารี JavaScript เช่น Date.js, Sylvester และ JavaScript URL Library

เฟรมเวิร์ก JavaScript คืออะไร

เช่นเดียวกับไลบรารี JavaScript เฟรมเวิร์ก JavaScript คือชุดส่วนย่อยของโค้ดที่เขียนไว้ก่อนซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ไลบรารี JavaScript เป็นเครื่องมือเฉพาะทางสำหรับการใช้งานตามต้องการ เฟรมเวิร์ก JavaScript คือชุดเครื่องมือที่ครบถ้วนที่ช่วยก่อร่างและจัดระเบียบแอปพลิเคชันเว็บใด ๆ หากคุณมองว่าแอปพลิเคชัน JavaScript เป็นบ้าน เฟรมเวิร์ก JavaScript ก็เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ใช้สร้างบ้าน

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วนของการใช้เฟรมเวิร์ก JavaScript:

การพัฒนาแอปพลิเคชันเว็บและแอปพลิเคชันบือถือ

AngularJS คือเฟรมเวิร์กที่ทำให้การพัฒนาและทดสอบแอปพลิเคชันเว็บง่ายขึ้น เช่น แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ แอปพลิเคชันในเวลาจริง และแอปพลิเคชันวิดีโอ React Native เป็นอีกเฟรมเวิร์กหนึ่งที่สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือที่แสดงผลแบบเนทีฟสำหรับ iOS และ Android

การพัฒนาเว็บแบบตอบสนอง

เว็บไซต์แบบตอบสนองให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่สอดคล้องกันในทุกอุปกรณ์ ตัวอย่างเช่น หน้าจอมือถือและแท็บเล็ตมีขนาดเล็กกว่าหน้าจอเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป คุณอยากให้เว็บไซต์แสดงผลและนำเสนอข้อมูลอย่างแม่นยำแม้บนหน้าจอที่เล็กกว่า โดยไม่จำเป็นต้องตัดส่วนปลายของเว็บไซต์ออก เป็นต้น เมื่อใช้เฟรมเวิร์กเช่น Bootstrap และ Ember.js นักพัฒนาสามารถได้รับประโยชน์จากการออกแบบแบบตอบสนองและปรับแต่งรูปลักษณ์และความรู้สึกของเว็บไซต์ได้ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ

การพัฒนาแอปพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์

Node.js คือเฟรมเวิร์ก JavaScript โอเพ่นซอร์สฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกใช้โค้ด JavaScript นอกเบราว์เซอร์ นักพัฒนาใช้เฟรมเวิร์กนี้เพื่อสร้างแอปพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายที่ปรับขนาดได้ รวดเร็ว และเชื่อถือได้ เฟรมเวิร์กนี้สามารถจัดการคำขอ HTTP และ Data Stream สนับสนุนระบบไฟล์ และจัดการกระบวนการแบ็คเอนด์หลายกระบวนการพร้อมกัน

HTML และ CSS คืออะไร

Hypertext Markup Language (HTML) และ Cascading Style Sheets (CSS) คือภาษาโปรแกรมอีกสองภาษาที่นักพัฒนาใช้ในการพัฒนาฟรอนต์เอนด์ HTML คือบล็อกการสร้างพื้นฐานสำหรับเว็บเพจส่วนใหญ่ ย่อหน้า ส่วน ภาพ ชื่อเรื่อง และข้อความทั้งหมดจะเขียนด้วยภาษา HTML เนื้อหาปรากฏบนเว็บไซต์ตามลำดับที่เนื้อหานั้นถูกเขียนใน HTML

CSS คือภาษาของกฎรูปแบบที่เราใช้เพื่อนำการจัดรูปแบบมาใช้กับเนื้อหา HTML ของเรา คุณสามารถใช้ CSS เพื่อออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น สีพื้นหลัง แบบอักษร คอลัมน์ และขอบได้

HTML เทียบกับ CSS เทียบกับ JavaScript

ทั้งสามภาษาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้ที่ดีให้แก่ผู้ใช้บนทุกเว็บไซต์ แม้ว่า HTML และ CSS สามารถจัดการเนื้อหาคงที่ได้เป็นหลัก แต่ก็สามารถผสานรวมกับโค้ด JavaScript ฝั่งไคลเอ็นต์เพื่ออัปเดตเนื้อหาแบบไดนามิกได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่น บล็อกโค้ดสคริปต์บนหน้าเพจ HTML อาจประกอบด้วย JavaScript อยู่ภายใน จากนั้นเบราว์เซอร์สามารถประมวลผลทั้ง HTML และโค้ด JavaScript ภายในเมื่อหน้าเพจ HTML โหลดในเบราว์เซฮร์
 

ประโยชน์ของ JavaScript มีอะไรบ้าง

เรียนรู้และใช้งานง่าย

ไวยากรณ์ของ JavaScript ได้รับแรงบันดาลใจจากภาษาโปรแกรม Java จึงเรียนรู้และเขียนโค้ดได้ง่าย นักพัฒนาใช้ JavaScript ในเกือบทุกเว็บไซต์และแอปพลิเคชันมือถือสำหรับการเขียนสคริปต์ฝั่งไคลเอ็นต์ นอกจากนี้ Node.js ยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการเขียนโค้ดแบ็คเอนด์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แพลตฟอร์มการสตรีมและวิดีโอเจ้าใหญ่ ๆ หลายเจ้าก็ได้รับการเขียนโค้ดใน Node.js

ได้รับความเป็นอิสระจากแพลตฟอร์ม

JavaScript ไม่เหมือนกับภาษาโปรแกรมอื่น ๆ ตรงที่คุณสามารถใส่ JavaScript เข้าในเว็บเพจใดก็ได้ และนำ JavaScript มาใช้กับเฟรมเวิร์กและภาษาการพัฒนาเว็บอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เมื่อคุณเขียนขึ้นมาแล้ว คุณก็สามารถเรียกโค้ด JavaScript ได้บนทุกเครื่อง ดังนั้น JavaScript จึงทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชันไม่ต้องขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม

ลดโหลดของเซิร์ฟเวอร์

คุณสามารถใช้ JavaScript เพื่อลดโหลดของเซิร์ฟเวอร์และความคับคั่งของเครือข่าย เพราะ JavaScript สามารถเรียกใช้การดำเนินการเชิงตรรกะและทำงานหลายอย่างของเซิร์ฟเวอร์ได้บนไคลเอ็นต์เอง ตัวอย่างเช่น ลองพิจารณากระบวนการกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียน JavaScript ตรวจสอบอย่างรวดเร็วว่าคุณได้ป้อนหมายเลข 10 หลักสำหรับช่องหมายเลขโทรศัพท์หรือไม่ หากคำขอเหล่านี้ถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ หน้าของคุณจะโหลดใหม่สำหรับทุกข้อผิดพลาด ทำให้กระบวนการลงทะเบียนช้าและน่าเบื่อมาก

ปรับปรุงอินเทอร์เฟซผู้ใช้

JavaScript สร้างเว็บไซต์ที่ดูสวยงามทและำให้การค้นหาและประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนทำได้โดยสะดวก นักพัฒนาใช้ JavaScript เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานและความสามารถในการอ่าน และเพื่อทำให้การโต้ตอบของผู้ใช้บนเว็บไซต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สนับสนุนกระบวนการทำงานพร้อมกัน

JavaScript สามารถเรียกใช้ชุดคำสั่งหลายชุดที่แตกต่างกันได้อย่างขนานกัน ที่แบ็คเอนด์ Node.js สามารถจัดการและประมวลผลการตอบสนองของเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกปรับขนาดเป็นอย่างสูงได้โดยไม่ต้องใช้แบนด์วิธในปริมาณที่เท่ากัน

JavaScript มีข้อจำกัดใดบ้าง

ภาษาโปรแกรมใช้ตัวแปรเป็นชื่อแทนค่าข้อมูลจริง ตัวอย่างเช่น ในบล็อกโค้ด นักพัฒนาสามารถเขียน x=5 และ y=x+1 เมื่อโค้ดทำงาน คอมพิวเตอร์จะเปลี่ยน x และ y เป็น 5 และ 6 ตามลำดับเพื่อดำเนินฟังก์ชันกับตัวแปรเหล่านี้ ข้อมูลอาจเป็นหลากหลายประเภท เช่น สตริงข้อความ ตัวเลข หรือวันที่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมภาษาโปรแกรมส่วนใหญ่ถึงให้คุณกำหนดประเภทตัวแปรได้ เมื่อกำหนดประเภทตัวแปรแล้ว ประเภทจะไม่เปลี่ยนแปลง คุณไม่สามารถเก็บตัวเลขไว้ในตัวแปรสตริงได้

ตัวอย่างเช่น หากคุณบอกโปรแกรมว่า x และ y เป็นตัวเลข แล้วดำเนินการ x+y คอมพิวเตอร์จะรู้ว่าจะได้รับตัวเลขสองตัวแล้วนำมาบวกกัน ในทางตรงกันข้าม หากคุณกำหนดว่า x และ y เป็นสตริง ตัวดำเนินการ + จะเชื่อมต่อสองสตริงเข้าด้วยกันเพื่อสร้างคำที่ยาวขึ้น

ภาษาที่ไม่มีการตรวจสอบประเภท

JavaScript เป็นภาษาที่ไม่มีการตรวจสอบประเภท ซึ่งหมายความว่า JavaScript จะไม่อนุญาตให้โปรแกรมเมอร์กำหนดประเภทตัวแปร ตัวแปรสามารถเก็บประเภทข้อมูลใด ๆ ได้เมื่อรันไทม์ และการดำเนินการจะสมมติประเภทตัวแปร ผลลัพธ์ยังสามารถคำนวณเป็นข้อมูลประเภทอื่นได้ ตัวอย่างเช่น การดำเนินการอาจทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นสตริง “5” แทนตัวเลข 5 ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดโดยไม่ตั้งใจและบั๊กในโค้ดเนื่องจากข้อผิดพลาดเกี่ยวกับประเภท

TypeScript คืออะไร

TypeScript คือภาษาโปรแกรมที่ต่อยอดจาก JavaScript โดยการเพิ่มประเภทลงในไวยากรณ์ TypeScript เพิ่มไวยากรณ์เพิ่มเติมลงใน JavaScript เครื่องมือแก้ไขโค้ดจึงสามารถตรวจพบข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในขณะเดียวกัน โค้ด TypeScript แปลงเป็น JavaScript และให้ประโยชน์เดียวกับ JavaScript ทั้งหมด อีกทั้งยังทำงานในแอปและร่วมกับเฟรมเวิร์กและไลบรารี JavaScript ได้อีกด้วย

AWS SDK สำหรับ JavaScript คืออะไร

AWS SDK สำหรับ JavaScript คือชุดไลบรารีแบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้งานได้ฟรี และผสานรวมเข้ากับบริการของ AWS AWS SDK สำหรับ JavaScript รองรับการพัฒนา API การกำหนดสาระสำคัญในระดับที่สูงขึ้น และแอปพลิเคชันสามประเภท:

  • JavaScript สำหรับเบราว์เซอร์
  • Node.js สำหรับเซิร์ฟเวอร์
  • React Native สำหรับการพัฒนาบนมือถือ

AWS SDK สำหรับ JavaScript ถูกเขียนในภาษา Typescript ทั้งหมดแล้วคอมไพล์เป็น JavaScript ดังนั้น คุณจึงได้รับประโยชน์ทั้งหมดของ TypeScript โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความเข้ากันได้แบบย้อนหลัง

คุณสามารถเริ่มต้นใช้งาน AWS SDK สำหรับ Java โดยการอ่าน ตัวอย่างโค้ด และ คู่มือการโยกย้าย หรือโดยการ ติดตั้งโดยตรง จาก GitHub

AWS Amplify สำหรับ JavaScript คืออะไร

AWS Amplify คือชุดเครื่องมือและคุณสมบัติที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะที่ทำให้นักพัฒนาเว็บและมือถือฟรอนต์เอนด์สามารถสร้างแอปพลิเคชันสแต็กเต็มรูปแบบได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วบน AWS ไลบรารีไคลเอ็นต์แบบโอเพ่นซอร์สของ Amplify ให้อินเทอร์เฟซที่มุ่งเน้นที่กรณีการใช้งานและใช้งานง่ายในหลากหลายหมวดหมู่การดำเนินการที่ใช้ระบบคลาวด์ ขยายห้องสมุด JavaScript ได้รับการสนับสนุนสำหรับเว็บและโทรศัพท์มือถือที่แตกต่างกันกรอบรวมทั้งการตอบสนองตอบสนองพื้นเมืองเชิงมุมอิออนและ Vue.js คุณสามารถเริ่มต้นโดยการกรอก คู่มือการเริ่มต้น สำหรับการขยาย JavaScript

ขั้นตอนถัดไปของ JavaScript กับ AWS