การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเป็นกระบวนการที่องค์กรนำไปใช้เพื่อรวมเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกด้านของธุรกิจ กระบวนการนี้จะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่องค์กรส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าโดยพื้นฐาน บริษัทต่าง ๆ นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการดำเนินงานที่ปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดีมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีดังนี้

  • บริษัทเริ่มสร้างโซลูชันดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันบนมือถือหรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ
  • บริษัทย้ายจากโครงสร้างพื้นฐานคอมพิวเตอร์ในองค์กรเป็นการประมวลผลบนคลาวด์
  • บริษัทต่างๆ นำเซนเซอร์อัจฉริยะมาใช้เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน

เหตุใดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจึงมีความสำคัญ

คำว่า "การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล" อธิบายถึงการนำเทคโนโลยี ความสามารถ และกระบวนการใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อทำให้ยังคงสามารถแข่งขันได้ในภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หลังจากยุคการระบาดครั้งใหญ่ องค์กรต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 

  • ความกดดันด้านเวลาในการออกสู่ตลาด
  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโดยฉับพลัน
  • ความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

บริษัทต้องยอมรับกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลหากต้องการก้าวให้ทันกับการพัฒนาทางเทคโนโลยี

ต่อไปนี้เป็นประโยชน์บางส่วนของโครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล:

เพิ่มความสามารถในการผลิต

เทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น บริการบนคลาวด์ สามารถช่วยประหยัดเวลาและปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกด้านของกระบวนการธุรกิจ ตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ช่วยให้พนักงานมีอิสระในการมุ่งเน้นไปที่งานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา ในทำนองเดียวกัน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแมชชีนเลิร์นนิงสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วขึ้น

ปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ลูกค้าในยุคหลังการระบาดใหญ่คาดหวังว่าจะมีความพร้อมใช้บริการอย่างต่อเนื่องในหลายช่องทาง นอกจากนี้ลูกค้ายังต้องการเว็บไซต์และระบบการสื่อสารที่ใช้ง่ายและสะดวกบนอุปกรณ์มือถือ ต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าโดยตรง:

  • การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือและเวิร์กโฟลว์บนมือถือ
  • การติดตามและทำตามคำสั่งซื้อได้รวดเร็วขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะ
  • การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์
  • การปรับปรุงการสนับสนุนและการบริการลูกค้าโดยการใช้ระบบอัตโนมัติ

ลดต้นทุนในการดำเนินงาน

การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถต้นทุนการดำเนินงานที่ต่อเนื่องได้เป็นอย่างมาก เทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยนกระบวนการธุรกิจที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น:

  • การบำรุงรักษาอุปกรณ์
  • โลจิสติกส์และการส่งมอบ
  • ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
  • ค่าใช้จ่ายทรัพยากรมนุษย์
  • ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนลูกค้า

โดยปกติแล้ว คุณสามารถประหยัดต้นทุนได้เพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลสามารถช่วยคุณทำสิ่งต่าง ๆ ดังนี้:

  • กำจัดหรือแทนที่เวิร์กโฟลว์ที่ใช้ทรัพยากรจำนวนมาก
  • ลดค่าใช้จ่ายสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ที่มีราคาแพงผ่านบริการที่มีการจัดการและการประมวลผลบนคลาวด์

ทำให้งานต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติโดยการใช้เซนเซอร์อัจฉริยะ อุปกรณ์อัจฉริยะ และแมชชีนเลิร์นนิงร่วมกัน

ความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลคือกระบวนการที่แปลงแง่มุมทางกายภาพของกระบวนการและเวิร์กโฟลว์ในธุรกิจคุณให้กลายเป็นแง่มุมทางดิจิทัล การนำเสนอสิ่งที่ไม่ใช่ดิจิทัลหรือเป็นกายภาพให้เป็นรูปแบบดิจิทัลหมายความว่าระบบคอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้

ตัวอย่างเช่น แบบฟอร์มเอกสารที่ลูกค้ากรอกถูกแปลงเป็นแบบฟอร์มดิจิทัลที่ลูกค้ากรอกทางออนไลน์ จากนั้นจะสามารถนำข้อมูลดิจิทัลมาใช้เพื่อการวิเคราะห์และระบบธุรกิจอัจฉริยะได้ ในธุรกิจ โครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลจะรวมถึงโครงการเช่น

  • การปรับปรุงระบบที่ล้าสมัยให้มันสมัยมากขึ้น
  • การทำให้กระบวนการที่ดำเนินการบนกระดาษหรือทำด้วยมือที่มีอยู่เป็นอัตโนมัติ
  • การย้ายระบบไปออนไลน์ 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่การเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิทัลคือขั้นตอนแรกที่สำคัญในเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีขอบเขตกว้างกว่ามาก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมส่วนใหญ่ในองค์กร 

เสาหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

เพียงแค่การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีประสิทธิผลอย่างแท้จริงได้ การเปลี่ยนผ่านควรเกิดขึ้นภายในทุกแง่มุมขององค์กรเพื่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด เราขอแนะนำว่าเสาหลักที่สำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประกอบด้วยหกเสาหลักดังต่อไปนี้:

ประสบการณ์ของลูกค้า

นวัตกรรมธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้าคือหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งควรนำเทคโนโลยีเกิดใหม่มาใช้หลังจากที่ได้สำรวจเทคโนโลยีนั้นอย่างเต็มที่ภายในบริบทของการเดินทาง พฤติกรรม และความคาดหวังของลูกค้าของคุณแล้ว

บุคลากร

พนักงานควรรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุน ไม่ใช่ถูกคุกคาม จากการนำเทคโนโลยีที่เปลี่ยนผ่านมาใช้ โมเดลธุรกิจดิจิทัลแบบใหม่จะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพนักงานของคุณเปิดรับโมเดลธุรกิจเหล่านั้นอย่างเต็มที่เท่านั้น คุณสามารถทำสิ่งนี้ให้บรรลุได้ผ่านการฝึกอบรมพนักงาน การดึงดูดผู้มีพรสวรรค์ที่เหมาะสม ร่วมกับการรักษาผู้มีพรสวรรค์ที่มีอยู่ด้วยการสร้างโอกาสให้พวกเขาได้เติบโต

การเปลี่ยนแปลง

ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกส่วนของธุรกิจ การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าและสับสนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด คุณต้องจัดเตรียมเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลประสบความสำเร็จ

นวัตกรรม

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและนวัตกรรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน นวัตกรรมคือการสร้างแนวคิดที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่าน โดยคุณต้องสร้างเวทีสำหรับการสื่อสารอย่างเปิดกว้าง การทำงานร่วมกัน และอิสระในการสร้างสรรค์ที่จะสนับสนุนให้พนักงานทดลองทำสิ่งต่าง ๆ หลังจากที่ได้ทดสอบแนวคิดแล้ว คุณสามารถทำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลต่อไปเพื่อนำมาปฏิบัติในวงกว้างได้

ความเป็นผู้นำ

ผู้นำธุรกิจควรลงมือเชิงรุกและนำความระเบียบเรียบร้อยมาสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลทั้งหมด คุณต้องคิดการณ์ไกล สำรวจเทคโนโลยีทั้งหมดจากหลายแง่มุม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำเหมือนกัน

วัฒนธรรม

เมื่อผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนำเสาหลักที่ได้กล่าวถึงทั้งห้าเสามาใช้ วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมจะถือกำเนิดขึ้น เมื่อพนักงานที่กระตือรือร้นจดจ่อที่จะส่งมอบประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ โครงการริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลจะขยายกว้างและประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีประเภทอะไรบ้าง

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีสี่ประเภทหลักๆ ที่ทุกองค์กรสามารถนำมาใช้:

  • กระบวนการทางธุรกิจ
  • โมเดลธุรกิจ
  • ด้านธุรกิจ
  • องค์กรหรือวัฒนธรรม

เรามาสำรวจตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบางส่วนเพิ่มเติมกัน:

กระบวนการทางธุรกิจ

การเปลี่ยนผ่านกระบวนการจะพิจารณาวิธีการที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อปรับปรุงเวิร์กโฟลว์ภายในและภายนอกที่มีอยู่ เทคโนโลยีใหม่มักเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการไปโดยสิ้นเชิงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น

ตัวอย่างเช่น Origin Energy Ltd (Origin) เป็นหนึ่งในบริษัทด้านพลังงานแบบบูรณาการชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย Origin ช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดการค่าพลังงานและการจัดการสาธารณูปโภคได้ด้วยตนเองจากการเปลี่ยนไปใช้บริการของ AWS ซึ่งได้พลิกโฉมกระบวนการทางดิจิทัลที่มีการติดต่อกับลูกค้าแบบครบวงจรพร้อมประโยชน์เหล่านี้

  • ประมวลผลทรัพยากรบนคลาวด์เพื่อจัดการช่วงที่มีความต้องการใช้งานสูง
  • ลดระยะเวลาขั้นตอนการเรียกเก็บเงินลง 30%
  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรับมือกับการโต้ตอบกับลูกค้ามากมายผ่านเว็บไซต์และแอป 

ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเหล่านี้ได้ลดเวิร์กโหลดของศูนย์บริการลูกค้าและต้นทุนการดำเนินงานลง และในขณะเดียวกันก็เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วย

โมเดลธุรกิจ 

การเปลี่ยนผ่านประเภทโมเดลจะสำรวจการปฏิรูปโมเดลธุรกิจที่มีอยู่ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย การเปลี่ยนผ่านประเภทนี้มุ่งที่จะนำเสนอบริการหลักของธุรกิจในรูปแบบใหม่หรือผ่านช่องทางที่แตกต่างเพื่อเพิ่มการเติบโตของรายได้และการเข้าถึงลูกค้า

ตัวอย่างเช่น Tourism Union International (TUI) คือหนึ่งในบริษัทด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก TUI เป็นเจ้าของและบริหารบริษัทตัวแทนด้านการท่องเที่ยว โรงแรม สายการบิน เรือสำราญ และร้านค้าปลีกหลายแห่ง ในช่วงที่เกิดโรคระบาด TUI ต้องคิดค้นตนเองใหม่เพื่อรับมือกับการยกเลิกจำนวนมากรวมถึงแนวการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไป ทางบริษัทได้สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นการนำนักเดินทางที่กลับบ้านไม่ได้กลับไปยังภูมิลำเนาของตน ในขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านไอทีภายในลงถึง 70%

โดเมนธุรกิจ

การเปลี่ยนผ่านของโดเมนธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจหนึ่งสามารถจับกลุ่มตลาดหรือโดเมนใหม่ได้สำเร็จ ซึ่งสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการมุ่งเน้นที่โครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่ขยายข้อเสนอให้กว้างขึ้น แทนที่จะปรับปรุงข้อเสนอที่มีอยู่เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างเช่น ในตอนแรก Amazon เป็นแพลตฟอร์มการค้าปลีกอีคอมเมิร์ซ ในเวลาต่อมา เราได้เพิ่มแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง Amazon Prime ของเรา และลองใช้บริการระบบคลาวด์ด้วย และในปัจจุบันนี้ Amazon Web Services (AWS) ก็กลายเป็นบริการการประมวลผลบนคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราใช้การเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจเพื่อสร้างตัวตนในสองโดเมนใหม่ทั้งหมด

องค์กร

การเปลี่ยนผ่านในด้านขององค์กรจะสำรวจการคิดค้นทั้งองค์กรหรือวัฒนธรรมภายในใหม่เพื่อมุ่งเน้นไปที่การมอบคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้มีความก้าวนำหน้านำคู่แข่งและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้เร็วขึ้น 

ตัวอย่างเช่น Thomson Reuters เป็นผู้ให้บริการข้อมูลธุรกิจชั้นนำ บริษัทตัดสินใจที่จะแยกธุรกิจข้อมูลการเงินและเทรดดิ้งของตนออกเป็นนิติบุคคลใหม่ที่มีชื่อว่า Refinitiv เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทจึงย้ายแอปพลิเคชันที่มีการติดต่อลูกค้ากว่าร้อยรายการของตนมายัง Amazon Elastic Cloud Compute (Amazon EC2) ซึ่งถือเป็นการยกเครื่องระบบที่ล้าสมัยของตนทั้งหมด บริษัทสามารถทำเช่นนี้ได้ในระยะเวลาที่เร็วกว่าปกติด้วยการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของทีมไอทีภายในของตน

ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนผ่านไม่มีเส้นทางที่ชัดเจน และทุกบริษัทย่อมดำเนินการแตกต่างกัน เราจึงขอแนะนำหกระยะดังต่อไปนี้ไว้เป็นแนวทาง 

ระยะที่ 1—สถานการณ์ที่เป็นอยู่

ในระยะแรก ธุรกิจประกอบการต่อไปตามปกติ และคงสถานการณ์ที่เป็นอยู่โดยไม่ตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การขาดโครงการริเริ่มดิจิทัลอาจทำให้องค์กรค่อย ๆ เลือนหายไปไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนก็ตาม การเปลี่ยนไปยังระยะถัดไปโดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ระยะที่ 2—ตื่นตัว

ในระยะที่สอง ธุรกิจเริ่มมาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับใช้ระบบดิจิทัลให้เหมาะสม ธุรกิจรับรู้ความท้าทายในปัจจุบันและความจำเป็นที่จะต้องมีโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล แผนกต่าง ๆ เริ่มพยายามแก้ไขปัญหาเดิม ๆ ด้วยวิธีอื่น แม้ว่าระยะนี้จะดีกว่าระยะก่อนหน้า แต่ก็ยังขาดความมุ่งเน้นและความเป็นหนึ่ง องค์กรจำเป็นต้องหาวิธีออกจากความสับสนวุ่นวายที่พบเจอในตอนต้นหากองค์กรต้องการบรรลุความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล  

ระยะที่ 3—ตั้งใจ

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเริ่มต้นเมื่อธุรกิจขยับมาที่ระยะตั้งใจ ผู้นำด้านระบบดิจิทัลและเจ้าหน้าที่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญถือกำเนิดขึ้นและเริ่มทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ บุคคลเหล่านี้พยายามขอรับการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากผู้บริหารของบริษัทเพื่อนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมของธุรกิจอาจกลายเป็นอุปสรรคที่จุดนี้ และผู้นำต้องส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมอย่างกระตือรือร้นเพื่อให้เปลี่ยนผ่านเพิ่มเติม

ระยะที่ 4—คิดกลยุทธ์

ในระยะที่ห้า องค์กรบรรลุการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ดังนั้นแต่ละกลุ่มและแต่ละแผนกจึงตกลงที่จะทำงานด้วยความร่วมมือกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลได้สำเร็จ บุคคลเหล่านี้วางแผนแง่มุมต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้รับผิดชอบ การวิจัย ความพยายาม และการลงทุน

ระยะที่ 5—มุ่งเป้าหมาย

ธุรกิจในระยะที่ห้าเริ่มนำกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่สรุปในระยะก่อนหน้ามาปฏิบัติ ธุรกิจมีทีมนักนวัตกรรมข้ามแผนก ซึ่งเป็นผู้ระบุว่าอะไรที่จำเป็นต้องทำทั้งในตอนนี้และในอีกหลายเดือนข้างหน้าเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล โครงการด้านระบบดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และโครงการริเริ่มใหม่ ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

ระยะที่ 6—ปรับตัว

ธุรกิจที่มาถึงระยะนี้มีเฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลสำหรับจัดการกับความต้องการของลูกค้าในอนาคตทั้งหมดแล้ว การเปลี่ยนผ่านกลายเป็นวิถีชีวิต และธุรกิจสามารถไปตามเส้นทางเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมได้อย่างง่ายดาย โครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลกลายเป็นเรื่องปกติเรื่องใหม่ในองค์กรที่อยู่ในระยะที่หก

กลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

กลยุทธ์การปฏิรูปดิจิทัลเป็นแผนรายละเอียดสำหรับการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในระยะสั้นและระยะยาวในองค์กรต่างๆ โดยจะคำนึงถึงส่วนประกอบต่อไปนี้:

  • ผู้นำที่ริเริ่มและผลักดันการเปลี่ยนแปลง
  • การลงทุนและการวางแผนทางการเงิน
  • ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) เพื่อวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)
  • เครื่องมือและกระบวนการที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
  • แหล่งข้อมูลภายนอกและผู้เชี่ยวชาญของบุคคลที่สาม
  • ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อลูกค้าและพนักงาน

เรามีสี่ขั้นตอนในการพัฒนากลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จด้านล่าง

ปรับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจของคุณ

การวางแผนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลควรยึดที่แผนโดยรวมขององค์กรของคุณ ไม่ใช่เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง สิ่งสำคัญของคุณจะช่วยตรวจสอบตัวชี้วัดให้วัด KPI การรักษาให้เปลี่ยนแปลงตรวจสอบได้ และเร่งเวลาเพื่อสร้างคุณค่า

พัฒนาการทดสอบระบบสาธิต

โครงการริเริ่มสำหรับเริ่มต้นที่ดีที่สุดจะสามารถแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่วัดได้ในช่วงเวลาไม่มากกว่าหกเดือน จะดีกว่าหากพัฒนากลยุทธ์ขั้นต้นที่แสดงให้เห็นถึง ROI และได้รับคำอนุมัติจากผู้นำ จากนั้นคุณสามารถค่อย ๆ ปรับแต่งและปรับขนาดต้นแบบขั้นต้นเหล่านี้ทั่วทั้งองค์กรได้

วางแผนการนำเทคโนโลยีมาปฏิบัติ

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเกี่ยวข้องกับเครื่องมือหลายอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรของคุณ เทคโนโลยีเหล่านี้บางส่วนมีดังนี้:

  • เทคโนโลยีบนมือถือ เช่นแอปพลิเคชันที่โต้ตอบกับลูกค้าและแอปพลิเคชันภายในที่ทำให้ความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้น
  • Internet of Things เช่น เซนเซอร์อัจฉริยะและอุปกรณ์อัจฉริยะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • เทคโนโลยีคลาวด์ โดยเฉพาะการประมวลผลบนคลาวด์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์
  • ปัญญาประดิษฐ์ และแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ
  • วิทยาการหุ่นยนต์ เพื่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
  • ความเป็นจริงเสริมและความจริงเสมือนสำหรับการมีส่วนร่วมของลูกค้าอย่างสมจริง

การนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวิธีการทำงานของพนักงานและวิธีการที่ลูกค้าโต้ตอบกับองค์กรของคุณ นอกจากนี้คุณยังอาจต้องนำพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาฝึกอบรมทีมของคุณและเพิ่มความสามารถขององค์กรของคุณด้วย คุณจะต้องวางแผนเรื่องนี้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณอย่างรอบคอบ

เก็บรวบรวมข้อเสนอแนะและปรับปรุงกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวมขั้นตอนการให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพลงในแผนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณ การเก็บรวบรวมข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอทำให้คุณสามารถแน่ใจได้ว่าทุกคนเรียนรู้จากประสบการณ์และเติบโตอยู่เสมอ เพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคือการเดินทาง การนำจุดตรวจสอบเข้ามาใช้ในกรอบระยะเวลาของคุณจะทำให้คุณมีความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ได้หากจำเป็น

กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล

Saint Louis University (SLU) เริ่มการเดินทางสายดิจิทัลของตนด้วยความพยายามที่จะเพิ่มความสามารถของนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในบริเวณมหาวิทยาลัย อันเป็นเป้าหมายธุรกิจหลักของตน

  1. หลังจากที่ตรวจสอบกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาแล้ว ผู้นำการเปลี่ยนผ่านก็ตระหนักว่านักศึกษาต้องการคำตอบที่รวดเร็วขึ้นเมื่อมีคำถามเกี่ยวกับการศึกษาที่ SLU
  2. ทางมหาวิทยาลัยจึงตัดสินใจที่จะทดลองใช้อุปกรณ์ Amazon Echo ด้วยการนำอุปกรณ์ 2,300 เครื่องเข้ามาในโถงหอพักหรือพื้นที่อยู่อาศัยในบริเวณมหาวิทยาลัย นักศึกษาสามารถถามคำถามเกี่ยวกับ SLU และรับคำตอบได้จากอุปกรณ์เหล่านี้
  3. อุปกรณ์นี้มีผู้ใช้มากมายในระหว่างช่วงทดลองใช้ และผลการวิเคราะห์การโต้ตอบของนักศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษากำลังใช้อุปกรณ์เพื่อตั้งตัวเตือนการแจ้งเตือนและถามคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป
  4. SLU จึงร่วมเป็นพันธมิตรกับ AWS Professional Services เพื่อขยายแนวคิดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนี้ให้ไกลออกไปมากขึ้น มหาวิทยาลัยได้นำข้อมูลที่ผู้นำได้รับจากการทดลองใช้ในช่วงต้นมาใช้สร้างแพลตฟอร์มแชทบอทอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ ตอนนี้นักศึกษาสามารถโต้ตอบกับแชทบอทผ่านเว็บไซต์ของ SLU ข้อความโทรศัพท์ หรือ Amazon Echo ในขณะที่ยังคงได้รับคำตอบที่สม่ำเสมอ

SLU จึงตัดสินใจยกระดับการเปลี่ยนผ่านนี้ให้ไกลขึ้นไปอีก ระยะถัดไปของโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลนี้คือการปรับแต่งแชทบอทเพื่อให้นักศึกษาสามารถถามคำถามที่เป็นส่วนตัว เช่น “ฉันสอบประวัติศาสตร์เมื่อใด” หรือพนักงานสามารถถามว่า “ฉันเหลือวันลาหยุดเท่าไหร่”

เฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคืออะไร

เฟรมเวิร์กการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลคือพิมพ์เขียวเพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กรใด ๆ ที่กำลังผ่านการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล เฟรมเวิร์กคือเครื่องมือที่ชี้นำทุกระดับและทุกแผนกขององค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลง

เฟรมเวิร์กสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วยการสรุปแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและกระบวนการในการทำสิ่งต่อไปนี้: 

  • วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทั่วทุกด้านของธุรกิจ
  • จัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
  • วางแผนขั้นตอนเพื่อนำการเปลี่ยนผ่านมาปฏิบัติ
  • ระบุตัววัดเพื่อวัดประโยชน์ที่การเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้เกิดขึ้น
  • ชี้แจงวิธีที่จะเดินหน้าไปตามการเดินทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณ

AWS Professional Services คืออะไร

AWS Professional Services คือทีมผู้เชี่ยวชาญสากลที่สามารถช่วยให้คุณสามารถทำให้การเดินทางเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณเป็นจริงได้ด้วย AWS Cloud เราจะทำงานร่วมกับทีมของคุณและเครือข่ายพาร์ทเนอร์ของ AWS (APN) ที่คุณเลือกเพื่อเริ่มโครงการริเริ่มการประมวลผลบนคลาวด์ขององค์กรของคุณ

AWS Professional Services นำเสนอชุดการดำเนินการ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และเอกสารบันทึกสำหรับทุกขั้นตอนในการเดินทางเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลโดยการนำมาใช้บนคลาวด์ของคุณ นอกจากนี้ แนวทางปฏิบัติเฉพาะทางของเรานำเสนอคำแนะนำแบบมุ่งเป้าหมายผ่านแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เฟรมเวิร์ก เครื่องมือ และบริการเพื่อสนับสนุนโครงการการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับ AWS Cloud

AWS Professional Services จัดทำเฟรมเวิร์กการนำ AWS Cloud มาใช้งาน เพื่อช่วยองค์กรให้พัฒนาและปฏิบัติแผนที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเพื่อการเดินทางในการนำคลาวด์มาใช้ของตน คำแนะนำและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จัดหาให้ในเฟรมเวิร์กจะช่วยคุณสร้างแนวทางอันครอบคลุมสำหรับการประมวลผลบนคลาวด์ในองค์กรของคุณ รวมถึงตลอดการใช้งานด้านไอทีของคุณด้วย

เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วยการใช้รายการตรวจสอบการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของ AWS และเครื่องมือเตรียมความพร้อมในการนำคลาวด์มาใช้ สร้างบัญชี AWS เพื่อเริ่มการเดินทางในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของคุณวันนี้

ขั้นตอนต่อไปบน AWS

ดูแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ AWS for Data 
ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที 

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นสร้างใน Console

เริ่มต้นสร้างใน AWS Management Console

ลงชื่อเข้าใช้